ปฏิบัติการ Moodle
Moodle มาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment
คือ ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือน เรียนในห้องเรียน หรือเรียกว่าLMS (Learning Management S ystem) หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน CMS(Course Management System ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต สำหรับสถาบันการศึกษา หรือครู ใช้เพื่อเตรียมแหล่งข้อมูล กิจกรรม และเผยแพร่แบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต
Moodle สามารถนำไปใช้ได้ ทั้งองค์กรระดับ มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ โปรแกรมชุดนี้เป็น Open Source ภายใต้ข้อตกลงของ gnu.org (General Public License) สามารถ download ได้ฟรีจาก http://moodle.org ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamas สถาบันการศึกษาใดต้องการนำไปใช้ จัดระบบการเรียนการสอน จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ( Admin) ที่ความสามารถในการติดตั้ง โดยที่ต้องมี Web Server ที่บริการภาษา php และ mysql
ความสามารถของ moodle
1. เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประเภทฟรีแวร์ ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก
2. สามารถเป็นได้ทั้ง CMS (Course Management System) และ LMS (Learning Management System) ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหา ของผู้สอน พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา และบันทึกกิจกรรมของนักเรียน
3. สามารถสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ หรือเผยแพร่เอกสารที่ทำไว้ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย
4. มีระบบติดต่อสื่อสาร ระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และผู้สอน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งคำถามไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อน เข้าเรียน ก็ได้
5. มีระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบ ให้คะแนนที่หลากหลาย ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel
6. สำรองข้อมูลเป็น . zip แฟ้มเดียว ในอนาคตสามารถนำไปกู้คืน ลงไปในเครื่องใดก็ได้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ Moodle
องค์ประกอบของ moodle (สำหรับโรงเรียน)
1. มี Web Browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งโดยครูผู้สอนและนักเรียน
2. มี Web Server ที่ให้บริการ php และ mysql
3. มี ผู้ติดตั้ง ผู้ดูแล และบำรุงรักษา ควรทำโดยนักคอมพิวเตอร์ ที่ที่มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการเขียนเว็บ
4. มี ครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้น moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล หรือครูที่ไม่มีไฟ
5. มี การเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ( LAN)
บุคคลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Moodle
1. ผู้ดูแลระบบ (Admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนด สิทธ์การเป็นครูผู้สอน
2. ผู้สอน ( Teacher) : เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสาร
3. ผู้เรียน ( Student) : เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน
4. ผู้เยี่ยมชม ( Guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และจำกัดสิทธ์ ในการทำกิจกรรม
แหล่งข้อมูล หรือกิจกรรม ของ Moodle
1. SCORM ( แหล่งข้อมูล ที่รวม Content จากภายนอก ที่เป็นมาตรฐาน)
2. Wiki ( สารานุกรม ที่ยอมให้ผู้เรียนเข้ามาแก้ไข)
3. อภิธานศัพท์ ( Glossary : รวมคำศัพท์ จัดหมวดหมู่ สามารถสืบค้นได้)
4. ห้องสนทนา ( Chat : ห้องที่สามารถนัดเวลาสนทนาระหว่างครู และนักเรียน)
5. กระดานเสวนา ( Forum : กระดานให้ครู และนักเรียนเข้ามาฝากความคิดเห็น)
6. การบ้าน ( Assignment : ที่นักเรียนพิมพ์งานแล้วนำมา
7. ห้องปฏิบัติการ ( Workshop : ที่นักเรียนทำงาน แล้วส่ง ซึ่งประเมินได้หลายแบบ)
8. ป้ายประกาศ ( Label : แสดงข้อความ เพื่อประกาศให้ทราบ)
9. แบบทดสอบ ( Quiz : สร้างคลังข้อสอบ แล้วเลือกมาให้ทำบางส่วน ระบบสามารถ ทำอัตโนมัติ)
10. โพลล์ ( Poll : แสดงความคิดเห็นตามตัวเลือก)
11. แหล่งข้อมูล ( Resources : text, html, upload, weblink, webpage, program)
กิจกรรมของครูผู้สอน
1. สมัครสมาชิกด้วยตนเอง และรอผู้ดูแล อนุมัติ ให้เป็นผู้สอน หรือผู้สร้างคอร์ส
2. ผู้สอนสร้างและกำหนดลักษณะของรูปแบบบทเรียนด้วยตนเอง
3. เพิ่ม เอกสาร บทเรียน และลำดับเหตุการณ์ตามความเหมาะสม
4. ประกาศข่าวสาร หรือนัดสนทนา กับนักเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
5. สามารถสำรองข้อมูลในวิชา เก็บเป็นแฟ้มเพียงแฟ้มเดียวได้
6. สามารถกู้คืนข้อมูลที่เคยสำรองไว้ หรือนำไปใช้ในเครื่องอื่น
7. สามารถดาวน์โหลดคะแนนนักเรียนที่ถูกบันทึกจากการทำกิจกรรม ไปใช้ใน Excel
8. กำหนดกลุ่มนักเรียน เพื่อสะดวกในการจัดการนักเรียนจำนวนมาก
9. สั่งยกเลิกการเป็นสมาชิกในวิชา ของนักเรียนที่มีความประพฤติ ไม่เหมาะสม หรือเข้าผิดวิชา
10. ตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน เช่น ความถี่ในการอ่าน แต่ละบท หรือคะแนนในการสอบแต่ละบท
11. เพิ่มรายการนัดหมาย หรือกิจกรรม แสดงด้วยปฏิทิน
12. สร้างเนื้อหาใน SCORM หรือสร้างข้อสอบแบบ GIFT แล้วนำเข้าได้
กิจกรรมของผู้เรียน
1. สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเอง
2. รออนุมัติการเป็นสมาชิก และสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง
3. อ่านเอกสาร หรือบทเรียน ที่ผู้สอนกำหนดให้เข้าไปศึกษา ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
4. ฝากคำถาม หรือข้อคิดเห็น หรือนัดสนทนาระหว่างเพื่อน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
5. ทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น ทำแบบฝึกหัด หรือส่งการบ้าน แก้ไขข้อมูล ส่วนตัวของตนเองได้ อ่านประวัติของครู เพื่อนนักเรียนในชั้น หรือในกลุ่ม
6. ดูผลการทำกิจกรรมต่างๆ
แหล่งที่มา http://banlat.ac.th/web/home/computer/cai/cai/moodle.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น