วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

2.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นัก คิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง
ทฤษฎีกลุ่มนี้ เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่ไม่เห็น ด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดา ของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์มนุษย์ไว้ว่า เป็นเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจและความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรที่จะคํานึงถึงความแตกต่างภายในของ มนุษย์ด้วย

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของกลุ่มปัญญานิยม

ลำดับที่ ทฤษฏีการเรียนรู้ นักจิตวิทยาคนสำคัญ
1. ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt Theory แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer) วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka)
2. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)
3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) เพียเจต์ (Piaget) และ บรุเนอร์ (Bruner)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ของ ออซูเบล (Ausubel)
5. ทฤษฎีสนาม (Field Theory เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) (เคยอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของเกสตัลท์)
6. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory)
7. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart and Ortony)
นอกจากนี้ ทฤษฎีในกลุ่มนี้ยังได้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับ ประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของกลุ่มปัญญานิยมจะเน้นทักษะกระบวนการคิด คือให้ผู้เรียนเรียนรู้ที่ง่ายไปหายาก เรียนรู้จากรูปธรรมไปหานามธรรมตามแนวคิดของกลุ่มเกสตัลท์ แต่การที่ผู้สอนจะนำหลัการทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มใดไปใช้กับผู้เรียนค่อย ดูความเหมาะสมของตัวผู้เรียนและบริบทด้วย
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1. ในการจัดการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
2. ผู้เรียนมีระดับของการแสดงออกไม่เท่ากัน ในการจัดการเรียนการสอน ควรให้ทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถตอบสนองตามระดับความสามารถของตน
3. การให้การเสริมแรงในช่วงที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด ช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4. ช่วยครูให้ทราบว่าผู้เรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติ หรืออัตมโนทัศน์ของผู้เรียน และความคาดหวังของครูที่มีต่อผู้เรียน
5. ช่วยครูในการปกครองชั้นเรียน และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น